เอ็นไซม์ (Enzyme) คืออะไร



เอ็นไซม์ คือ โปรตีน ซึ่งมีรูปร่างเป็น กรดอะมิโน (Amino Acid) มีคุณสมบัติเร่งปฏิกิริยาเคมีที่มีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต จนอาจกล่าวได้ว่า ถ้าหากร่างกายของเราขาดเอ็นไซม์ หรือ เอ็นไซม์หยุดทำงาน ชีวิตก็จะดับสิ้นไป
เอ็นไซม์ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

  1. เอ็นไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) จะพบได้ในอาหารดิบทุกชนิด ถ้ามาจากพืชเราเรียกว่า เอ็นไซม์จากพืช (Plant Enzyme) และถ้ามาจากสัตว์ เราเรียกว่า เอ็นไซม์จากสัตว์ (Animal Enzyme) ถ้าอาหารที่นำมาปรุงแต่งโดยใช้ความร้อน จะทำลายเอ็นไซม์ในอาหารได้โดยง่าย ความร้อนเกินกว่า 118 องศาฟาเรนไฮด์ จะทำลายเอ็นไซม์ และอาหารที่ไม่มีเอ็นไซม์แล้ว เราเรียกว่า อาหารที่ตายแล้ว
  2. เอ็นไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตโดยร่างกาย ส่วนใหญ่ผลิตจากตับอ่อน เพื่อใ้ช้ย่อยและดูดซึมอาหารที่เรากิน ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหาร
  3. เอ็นไซม์ในการเผาผลาญพลังงาน (Metabolic Enzyme) เป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตในเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีเพื่อการเผาผลาญสารอาหารและสร้างพลังงาน สร้างภูมิต้านทาน สร้างความเจริญเติบโต ตลอดจนซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ
หน้าที่ของเอ็นไซม์ 

ชีวิตจะอยู่ได้ไม่ยืนยาวถ้าขาดเอ็นไซม์ เพราะไม่มีปฏิกิริยาเคมี
ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของเอ็นไซม์ คือ
  1. ช่วยย่อยอาหารที่เรากินเข้าไปให้กลายเป็นสารอาหารขนาดเล็ก พอที่จะถูกดูดซึมผ่านลำไส้เข้ากระแสโลหิตเพื่อนำไปสร้างกล้ามเนื้อ
  2. ผลิตฮอร์โมน
  3. สร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  4. ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
  5. เผาผลาญพลังงานและย่อยสลายไขมัน
  6. ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  7. ป้องกันการติดเชื้อและอักเสบ
  8. ขจัดสารพิษของร่างกาย
  9. ต่อต้านอนุมูลอิสระ
  10. ทำให้ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่และสารอื่นๆ ทำงานตามคุณสมบัติ กินมากเท่าไหร่ ก็นำไปใช้ไม่ได้ถ้าเอ็นไซม์บกพร่อง
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเอ็นไซม์ คือ

  1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสร้างเอ็นไซม์ขึ้นมาใช้เองด้วยความสามารถในการผลิตที่แตกต่างกัน
  2. เอ็นไซม์เป็นตัวเร่งในการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ ถ้าย่อยได้ไม่ดี ถึงกินอาหารที่ดีก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
  3. เอ็นไซม์ควบคุมและเร่งปฏิกิริยาเคมีทุกชนิด ถ้าไม่มีเอ็นไซม์ ปฏิกิริยาเคมีจะเกิดช้าจนชีวิตไม่สามารถรอได้
  4. เอ็นไซม์แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะตัวและทำปฏิกิริยาเคมีจำเพาะกับสารตั้ง ต้นที่ถูกกำหนดเท่านั้น เอ็นไซม์ชนิดย่อยแป้งจะไม่ย่อยโปรตีน เอ็นไซม์ชนิดย่อยไขมันจะไม่ย่อยแป้ง
  5. เอ็นไซม์ถูกทำลายโดยง่ายที่ความร้อนสูงเกิน 118 องศาฟาเรนไฮด์ หรืออาจกล่าวได้ว่า เอ็นไซม์เปราะบางมาก
  6. การแช่แข็ง ไม่ทำลายความสามารถของเอ็นไซม์
  7. การขาดเอ็นไซม์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะไม่รักษาสุขภาพของตนเอง บางกรณีเกิดจากปัญหากรรมพันธุ์
  8. เอ็นไซม์ที่มีระดับต่ำ (Low Enzyme Level) ในร่างกายสัมพันธ์กับโรคของความเสื่อมต่างๆ (ถ้าเอ็นไซม์ต่ำมาก โรคแห่งความเสื่อมก็เกิดขึ้นมากตาม)
อาการที่แสดงว่า ร่างกายขาดเอ็นไซม์ 

อาการที่ท่านรู้สึกด้วยตัวเอง (Symptom) ว่าน่าจะขาดเอ็นไซม์ คือ
  1. รู้สึกเหนื่อยหลังจากกินอาหารมื้อหนักๆ
  2. อ่อนเพลียเป็นประจำ
  3. ท้องผูก
  4. ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บางครั้งมีอาการจุกเสียด
  5. ลมแน่นท้อง ผายลมมีกลิ่นเหม็น
  6. อุจจาระจมน้ำ และมีกลิ่นเหม็นมาก
  7. มีกลิ่นปาก
  8. มีอาการของโรคภูมิแพ้ง่าย บางครั้งถึงขนาดหอบหืด
  9. เวลาเป็นแผลจะหายช้า
  10. น้ำหนักตัวเพิ่มง่าย
อาการที่แพทย์ตรวจพบ (Sign) ว่ากำลังขาดเอ็นไซม์ คือ
  1. ตับอ่อนบวม
  2. เม็ดโลหิตขาวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติหลังกินอาหาร 30 นาที
  3. น้ำลายมีฤทธิ์เป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7)
  4. ในปัสสาวะมีสารพิษมาก เกิดจากอาหารไม่ย่อย จึงบูดและเน่าในลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะดูดซึมพร้อมกับน้ำเข้าไปในกระแสเลือด ตับและไตจะกรองสารพิษเอาไว้ จากนั้นจะขับสารพิษออกทางปัสสาวะ จึงทำให้ตรวจพบปริมาณสารพิษสูงในปัสสาวะ
  5. ระดับเอ็นไซม์ต่ำกว่าปกติในเลือด
  6. ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย
บุคคลที่ควรได้รับเอ็นไซม์ 
  1. ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรง
  2. มีภูมิต้านทานอ่อน ภูมิแพ้ เป็นหวัดง่าย และมักติดเชื้อง่าย เช่น วัณโรค, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  3. ผู้ป่วย ก่อนและหลังผ่าตัด
  4. สตรี ก่อนและหลังคลอด
  5. ประสิทธิภาพตับไม่ดี เหนื่อยง่าย เช่น ตับอักเสบ
  6. มีประสาทอ่อนไม่ปกติ ตกใจง่าย เบื่ออาหาร
  7. โรคกระเพาะอาหาร อาหารย่อยยาก ท้องอืดบ่อยๆ
  8. กระเพาะลำไส้ไม่ดีแต่กำเนิด ผอมแห้ง แรงน้อย
  9. การทำงานของประสาทไม่เต็มที่ มักสะลึมสะลือ กะปรกกะเปลี้ย
  10. ร่่างกายแก่ก่อนวัย เจ็บป่วยง่าย
  11. มีอาการติดเชื้อแปลกๆ เจ็บออดๆแอดๆ
  12. มีภาวะเสี่ยงต่อโรคกรรมพันธุ์ เช่น เบาหวาน, มะเร็ง, ปัญญาอ่อน, Thalassemia เป็นต้น
  13. ลำคอและหัวไหล่แข็ง
  14. เมาค้าง อ่อนเพลีย
  15. โลหิตจาง
  16. ความดันโลหิตต่ำ มือเท้าเย็นชา
  17. ผิวหนังหยาบกร้าน
  18. ประจำเดือนผิดปกติ ปวดประจำเดือน แท้งลูกง่าย
  19. โรควัยทอง ระดูขาว
  20. มดลูกหย่อน เนื้องอกในมดลูก เป็นซีสต์ในรังไข่
  21. ฮ่องกงฟุต